วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

ขายสินค้า

แนะนำสินค้า


เคสโทรศัพท์ + สายชาต น่ารักๆ ของแท้
สำหรับสายชาต asus ze-520kl และ samsung Galaxy A5 (2017)
ราคาถูกกว่าที่อื่น สนใจติดต่อ FB:Sasitorn Sukmee

สเปรย์หอมไล่ยุงจากตะไคร้

โครงงานสะเต็มศึกษา
หน่วยบูรณาการวิถีพอเพียง
เรื่อง สเปรย์หอมไล่ยุงจากตะไคร้

โดย
1.           ชื่อ       วันศิริมงคล   สกุล    สุขธร              ชั้น      ม.2/11            เลขที่12
2.           ชื่อ       ณัฐณิชา          สกุล    คีรีโชติ           ชั้น      ม.2/11            เลขที่18
3.           ชื่อ       ทิพวรรณ       สกุล    มงมาตร์         ชั้น      ม.2/11            เลขที่19
4.           ชื่อ       ศศิธร              สกุล    สุขมี                ชั้น      ม.2/11            เลขที่26
5.           ชื่อ       ศุภิสรา           สกุล    พรรณราย      ชั้น      ม.2/11              เลขที่27
ครูประจำวิชา
   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                 : ครู ปราณี       ทองรมย์
    กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                                 : ครู สุฐิยา        เพชรวงษ์
     กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                     : ครู กัลยาณี     สุดทองคง
   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม            : ครู พูนสุข      เพ็งสถิตย์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา                                 : ครู จราภรณ์   เกื้อเดช
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ                                                           : ครู สุเมศ        เพ็งโอ
       กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี                      : ครู ศุภร          วงศ์สุวรรณ
      กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ                                         : ครู อาภรณ์     พงศ์ประยูร
       กลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว                                        : ครู วิลาวัลย์   เผือกสุวรรณ

โรงเรียน วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
รายงานนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานสะเต็มศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 2/11

บทคัดย่อ
โครงงานสะเต็มศึกษาเรื่องสเปรย์หอมไล่ยุงจากตะไคร้    มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการนำทรัพยากรในธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ดีกว่าการปล่อยให้ทรัพยากรตายไปโดยไร้ประโยชน์และเพื่อป้องกันยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกให้แพร่มาถึงเราเนื่องจากฤดูฝนในปีก่อนๆนั้นมีคนป่วยและตายเป็นจำนวนมากจากโรคไข้เลือดออกเราจึงได้คิดวิธีมาเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้ โดยมีความพอเพียงมาเป็นหัวข้อหลักในการสร้างชิ้นงานในครั้งนี้

            จากการศึกษาพบว่าการสกัดตะไคร้พบว่าสารสกัดจากตะไคร้นั้นสามารถนำมากำจัดยุงได้ในปริมาณเหมาะสมและมีกลิ่นหอม

กิตติกรรมประกาศ              
สเปรย์หอมไล่ยุงจากตะไคร้เพื่อทดลองประสิทธิภาพของสมุนไพรในการไล่ยุง โดยได้รับคำปรึกษาจาก คุณครูสุฐิยา เพชรวงษ์ คุณครูฤทัยรัตน์ ศักดิรัตน์ เป็นอย่างสูงที่ให้ความกรุณาที่ให้ความช่วยเหลือในการทำโครงงานในครั้งนี้

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                                                  หน้า       
 บทคัดย่อ                                                                                                                                                             ก          
 กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                              ข         สารบัญ                                                                                                                                                                ค         สารบัญตาราง                                                                                                                                                       ง           สารบัญรูปภาพ                                                                                                                                                     จ         
บทที่ 1    บทนำ                                                                                                                                                   1          
1.1      แนวคิดที่มาของโครงงาน                                                                                                                
1.2      วัตถุประสงค์ของโครงงาน                                                                                                                              
1.3      ขอบเขตของโครงงาน                                                                                                                                       
1.4      ประโยชน์ที่ได้รับ
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                                    2         
2.1      ลักษณะของตะไคร้                                                                                                                                  
2.2      ประโยชน์ของตะไคร้
2.3      น้ำมันตะไคร้
2.4      สรรพคุณ                                                                                                                                                          
2.5      โรคที่ยุงเป็นพาหะ
2.6      เรื่องเกี่ยวกับยุง                                                                                                                                           
2.7      อาการหลังจากถูกยุงกัด                                                                                                                      
2.8      วงจรชีวิตของยุง
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานโครงงาน                                                                                                                     8    
3.1      วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
3.2      ภาพร่างในการพัฒนาชิ้นงาน
3.3      แผนผังของวิธีการ                                                                                                                                         
3.4      ขั้นตอนการสร้างชิ้นงานตามแบบ
3.5      ทดสอบและปรับปรุงชิ้นงาน                                                                                                                            
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน                                                                                                                                   11          
4.1      ผลการดำเนินงาน
4.2      การนำไปใช้
บทที่ 5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ                                                                                                              12         
5.1      สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
5.2      ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
ภาคผนวก                                                                                                                                                           13
บรรณานุกรม                                                                                                                                                      16           
สารบัญตาราง

หน้า
ตารางที่ 1 ผลการทดลอง                                                                                                                                            10

     สารบัญรูปภาพ
หน้า
รูปที่ 1 รูปตะไคร้                                                                                                                                                        2
รูปที่ 2 อุปกรณ์ในการทำสเปรย์ไล่ยุง                                                                                                                       13
รูปที่ 3 การหั่นตะไคร้                                                                                                                                                      
รูปที่ 4 การหั่นตะไคร้                                                                                                                                                      
รูปที่ 5 การหั่นตะไคร้                                                                                                                                                     
รูปที่ 6 การทุบตะไคร้      
รูปที่ 7 ใส่น้ำในหม้อ                                                                                                                                                 14   
รูปที่ 8 ต้มน้ำและตะไคร้
รูปที่ 9 รอจนเดือด
รูปที่ 10 รอจนครบเวลา
รูปที่ 11 กรองให้ได้น้ำ
รูปที่ 12 พักไว้ให้เย็น                                                                                                                                                 15  
รูปที่ 13 บรรจุลงในภาชนะ
รูปที่ 14 สเปรย์ไล่ยุง
รูปที่ 15 ทดลองฉีด
                                     
      บทที่ 1
บทนำ

1. แนวคิดที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                เราได้คิดผลงานใช้ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ คือ สเปรย์หอมไล่ยุงจากตะไคร้ เนื่องจากในช่วงฤดูฝนในปีก่อนๆมีโรคระบาดนั้นก็คือโรคไข้เลือดออกซึ่งมีพาหะนำโรคในก็คือยุง เราจึงคิดสเปรย์หอมไล่ยุงนี้มาเพื่อกำจัดยุงที่เป็นพาหะในการนำโรค  ซึ่งในการคิดค้นงานในครั้งนี้เราได้ตอบโจทย์กับหัวข้อที่เราได้มาคือ พอเพียง” มันเป็นการนำวัสดุใกล้ตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม          ในธรรมชาติ
2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
2.1      เพื่อ ป้องกันยุงจากการเป็นโรคไข้เลือดออก
2.2      เพื่อ นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์
2.3      เพื่อสร้างสเปรย์หอมไล่ยุง
3. ขอบเขตและข้อจำกัดของโครงงาน
- ใช้จำนวนเงินให้ถูกที่สุด
- ใช้วัสดุจากธรรมชาติ
4. ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 มีประสิทธิสามารนำมาไล่ยุงได้จริง
4.2 ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ มีกลิ่นหอม
4.3 สามารถนำมาทำเป็นอาชีพเสริมได้
             4.4 สามารถทำใช้เองที่บ้านได้เพราะมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก                  

              บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
    
ในการศึกษาโครงงานเรื่อง               การทำสเปรย์หอมไล่ยุงจากตะไคร้  ผู้จัดทำได้รวบรวมแนวคิดต่างๆ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1 ตะไคร้ (Lemon Grass) จัดเป็นพืชผักสมุนไพรชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหารสำหรับดับกลิ่นคาว และช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร ในหลากหลายเมนู โดยเฉพาะอาหารประเภทต้มยำ และแกงต่างๆ รวมถึงการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ น้ำตะไคร้ ผงตะไคร้ เป็นต้น
ตะไคร้ เป็นไม้ล้มลุกวงศ์เดียวกันกับหญ้า มีอายุมากกว่า 1 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว มาเลเชีย อินโดนีเชีย เป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus (DC.)
วงศ์ : Graminae
ชื่อสามัญ : Lapine, Lemon grass, Sweet rush, Ginger grass
http://www.slowlife.company
ลักษณะทั่วไป
ลำต้น
ลำต้นตะไคร้มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ)
ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร

ใบ
ใบตะไคร้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ
ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ
ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
ดอก
ตะไคร้เป็นพืชที่ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ดอกจะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

ประโยชน์ตะไคร้
ลำต้น และใบสด
ใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหารสำหรับดับกลิ่นคาว ช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม และปรับปรุงรสให้น่ารับประทานมากขึ้น
ใช้เป็นส่วนผสมของยาทากันยุง สเปรย์กันยุง และยาจุดกันยุง
น้ำมันตะไคร้
ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำหอม
ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับทำสบู่ แชมพูสระผม
ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง
ใช้ทานวด แก้ปวดเมื่อย
ใช้ทาลำตัว แขน ขา เพื่อป้องกัน และไล่ยุง
ใช้เป็นส่วนผสมของสารป้องกัน และกำจัดแมลง
สรรพคุณตะไคร้
ลำต้น และใบ
ช่วยบรรเทา และรักษาอาการไข้หวัด
แก้ไอ และช่วยขับเสมหะ
บรรเทาอาการโรคหืดหอบ
รักษาอาการปวดท้อง
ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะยาก
ช่วยขับเหงื่อ
ช่วยในการขับลม
แก้อหิวาตกโรค
บำรุงธาตุ เจริญอาหาร
ช่วยลดความดัน โลหิตสูง
ลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด
แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
ราก
ใช้เป็นยาแก้ไขปวดท้อง และท้องเสีย
ช่วยขับปัสสาวะ
บรรเทาอาการไอ และขับเสมหะ
น้ำมันหอมระเหย
ออกฤทธิ์ต้านเชื้อรา
ช่วยกำจัดเซลลูไลท์
ช่วยในการขับถ่าย
บรรเทาอาการท้องเสีย
ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง จากฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
ช่วยขับน้ำดี
ช่วยขับลม
ระงับอาการปวด
ต้านอาการอักเสบ และลดการติดเชื้อ
กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
ลดอาการซึมเศร้า
ต้านอนุมูลอิสระ
2.2.โรคที่ยุงเป็นพาหะ
1. โรคมาลาเรีย
            แหล่งแพร่โรคอยู่ในท้องที่ป่าเขา โดยเฉพาะตามแนวชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าและกัมพูชา เชื้อโรคมาลาเรียคือ โปรโตซัว ซึ่งเป็สสัตว์เซลล์เดียวมีขนาดเล็กมากมีชื่อเรียกว่าพลาสโมเดี่ยม ซึ่งมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน แต่ที่มีอันตรายร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตคือ พลาสโมเดี่ยม ฟาลซิฟารั่ม
2. โรคไข้เลือดออก
            แหล่งแพร่โรงอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในเขตเมืองและชนบททุกจังหวัดทั่วประเทศ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็ก เชื้อโรคไข้เลือดออกคือไวรัสที่มีชื่อว่า เดงกี่ไวรัส ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมักเสียชีวิตเนื่องจากเกิดการช็อค
3. โรคเท้าช้าง
            แหล่งแพร่โรคอยู่ในท้องที่ชนบทเฉพาะทางภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศ เชื้อโรคเท้าช้างคือพยาธิตัวกลมขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในกระแสโลหิตของผู้ป่วย โรคนี้ทำให้เกิดแขน เท้า ลูกอัณฑะบวมโต เกิดความพิการตามมาแต่โรคไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีเท้าบวมใหญ่คล้ายเท้าของช้าง จึงเรียกโรคนี้ว่าโรคเท้าช้าง
4. โรคไข้สมองอักเสบ
            แหล่งแพร่โรคอยู่ในท้องที่ชนบทโดยเฉพาะทางภาคเหนือบริเวณที่มีการเลี้ยงสุกรมาก โรคนี้ตามปกติเป็นโรคติดต่อในสัตว์ด้วยกันเองเท่านั้น การที่โรคติดต่อมาถึงคนได้นั้นนับเป็นการบังเอิญที่คนไปถูกยุงที่มีเชื้อโรคกัด เชื้อโรคไข้สมองอักเสบคือไวรัสที่มีชื่อว่า แจแปนิส เอนเซบ ฟาไลติส ไวรัส ถึงแม้จำนวนผู้ป่วยโรคนี้มีไม่มาก แต่โรคนี้ทำให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้โดยง่ายหรือทำให้เกิดความพิการทางสมองตามมาได้
เรื่องเกี่ยวกับยุง
ชนิดของยุงที่มาพร้อมกับโรคต่าง ๆ
             ยุงก้นปล่อง เป็นพาหะของโรคมาลาเรียและโรคเท้าช้าง
             ยุงรำคาญ เป็นพาหะของโรคไข้สมองอักเสบและโรคเท้าช้าง
             ยุงลาย เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ไข้ชิคุนกุนยา และโรคเท้าช้าง
             ยุงเสือ เป็นพาหะของโรคเท้าช้าง
            นอกจากนี้ หากสังเกตให้ดีจะพบว่า ยุงชอบกัดคนบางคนมากกว่าผู้ที่นั่งอยู่ใกล้ ๆ และจากผลการวิจัยพบข้อมูลที่น่าสนใจ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ยุงชอบกัดคนบางประเภทเป็นพิเศษ ดังนี้
             ยุงชอบกัดคนที่มีเหงื่อออกมาก
             ยุงชอบกัดคนที่ตัวร้อน (อุณหภูมิบริเวณผิวหนังสูง)
             ยุงชอบกัดคนที่หายใจแรง เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมากับลมหายใจเป็นตัวดึงดูดยุง
             ยุงชอบกัดเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะกลิ่นและลักษณะผิวหนัง
             ยุงชอบกัดผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะฮอร์โมนแตกต่างกัน
             ยุงชอบกัดคนที่ใส่เสื้อผ้าสีเข้ม เช่น สีดำ กรมท่า แดง เขียว มากกว่าสีขาว


อาการหลังจากถูกยุงกัด
            สำหรับสาเหตุของอาการคัน ดร.อุษาวดี เผยข้อมูลว่า เกิดจากการที่ยุงฉีดน้ำลายลงไปในบริเวณที่เจาะดูดเลือด เพื่อทำให้เลือดเจือจางลง จะได้ดูดเลือดได้ง่าย ซึ่งน้ำลายของยุงส่งผลให้มนุษย์เกิดอาการแพ้ที่แตกต่างกันออกไป บางรายแค่มีอาการคัน ขณะที่บางรายอาจมีอาการแพ้รุนแรง จนเป็นแผลลุกลาม และติดเชื้อได้ง่าย
            นอกจากนี้ในน้ำลายของยุงก็มีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ปะปนอยู่ เช่น เชื้อไวรัสเดงกี เชื้อไวรัสเจอีหรือแม้กระทั่งหนอนพยาธิที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบเจอี โรคมาลาเรีย โรคเท้าช้าง ฯลฯ
         4.วงจรชีวิตของยุง
มี 4 ระยะคือ ไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง และตัวเต็มวัย
1.ไข่
ไข่ยุงมีขนาดเล็กมากประมาณ 1 มิลลิเมตรเท่านั้น แต่ก็ยังสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไข่ยุงมีลักษณะรูปร่างแตกต่างกันไป ไข่ยุงก้นปล่องมีทุ่นลอยใสๆ ติดอยู่ด้านข้างของไข่ช่วยพยุงให้ไข่ลอยน้ำได้ ไข่ยุงลายไม่มีทุ่นลอยแต่เกาะติดอยู่ตามผนังภาชนะกักเก็บน้ำ เช่น โอ่งน้ำ โดยเกาะติดอยู่ตามขอบเหนือระดับน้ำเล็กน้อย ไข่ยุงรำคาญเรียงตัวเกาะกันเป็นแพอยู่บนผิวน้ำ ไข่ยุงเสือเกาะติดอยู่ตามขอบใต้ใบพืชน้ำบางชนิดที่อยู่ปริ่มน้ำ ยุงวางไข่ครั้งละประมาณ 100 ฟอง ระยะฟักไข่ประมาณ 2 วัน ก็จะออกมาเป็นลูกน้ำ
2.ลูกน้ำ
            แรกเริ่มเมื่อลูกน้ำฟักออกมาจากไข่ มีขนาดเล็กมากเป็นลูกน้ำระยะที่ 1 จากนั้นลูกน้ำจะกินอาหารทำให้เจริญเติบโตขึ้นและลอกคราบเปลี่ยนเป็นลูกน้ำระยะที่ 2 ซึ่งมีขนาดโตขึ้นแต่มีรูปร่างเหมือนเดิม ลูกน้ำจะกินอาหารและเจริญเติบโตขึ้นอีกเป็นลูกน้ำระยะที่ 3 และ 4 ต่อไป การเปลี่ยนระยะแต่ละครั้งจะมีการลอกคราบเสมอ เมื่อลูกน้ำระยะที่ 4 เจริญเต็มที่ก็จะลอกคราบครั้งสุดท้าย เปลี่ยนเป็นระยะตัวโม่ง ซึ่งมีลักษณะรูปร่างแตกต่างไปจากลูกน้ำอย่างมาก ระยะที่เป็นลูกน้ำใช้เวลาประมาณ 6 วัน ลูกน้ำยุงก็มีรูปร่างลักษณะรวมทั้งการเกาะที่ผิวน้ำและนิสัยการกินอาหารแตกต่างกันไป เช่น ลูกน้ำยุงก้นปล่องไม่มีท่อหายใจมีแต่เพียงรูหายใจ จึงลอยตัวขนานกับผิวน้ำและหาอาหารที่ผิวน้ำ ลูกน้ำยุงลายมีท่อหายใจสั้น เกาะที่ผิวน้ำโดยห้อยหัวอยู่ใต้น้ำและหาอาหารที่ก้นภาชนะกักเก็บน้ำ ลูกน้ำยุงรำคาญมีท่อหายใจยาว เกาะที่ผิวน้ำโดยห้อยหัวอยู่ใต้น้ำเช่นกันแต่หาอาหารที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ
3.ตัวโม่ง
            มีลักษณะรูปร่างที่เด่นชัดคือหัวโต ตามปกติจะลอยตัวนิ่งๆ ที่ผิวน้ำ แต่ถ้าถูกรบกวนจะเคลื่อนที่ได้อย่างว่องไว ระยะตัวโม่งนี้จะหยุดกินอาหารและเป็นระยะสุดท้ายที่ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำ ระยะตัวโม่งใช้เวลาประมาณ 2 วัน เพื่อให้ตัวอ่อนที่อยู่ภายในเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนที่จะลอกคราบออกมาเป็นตัวยุงตัวเต็มวัย
ระยะเวลาเริ่มจากยุงวางไข่จนกระทั่งเจริญจนถึงยุงตัวเต็มวัย ในประเทศเขตร้อยชื้นอย่างเช่นประเทศไทยนั้นใช้เวลาประมาณ 10 วันเท่านั้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดยุงด้วย
4.ตัวเต็มวัย
            เมื่อตัวโม่งเจริญเต็มที่จะลอยนิ่งๆ อยู่กับที่ จากนั้นเปลือกหุ้มบริเวณส่วนหัวของตัวโม่งเริ่มปริออก ตัวยุงที่อยู่ภายในจะค่อยๆ ดันออกมา ขณะที่ตัวยุงโผล่พ้นเปลือกตัวโม่งเกือบหมดเหลือเฉพาะส่วนขา ก็จะเริ่มคลี่ปีกออก เมื่อปลายขาหลุดออกมาหมดแล้วก็จะเกาะอยู่บนผิวน้ำหรือบริเวณใกล้เคียงประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ปีกแข็งแรงพอที่จะบินได้ ตามปกติแล้วยุงตัวผู้ออกมาก่อนยุงตัวเมียและอาศัยบริเวณแหล่งเพาะพันธุ์ตลอดชีวิต กินอาหารพวกน้ำหวานจากพืชโดยไม่กินเลือด ยุงตัวผู้มีอายุสั้นกว่าตัวเมีย ส่วนยุงตัวเมียเมื่อออกมาจากตัวโม่งจะกินอาหารพวกน้ำหวานจากพืชก่อน เพื่อให้มีพลังงาน จากนั้นก็ผสมพันธุ์โดยยุงตัวเมียผสมพันธุ์ครั้งเดียวเท่านั้นในชีวิตก็สามารถออกไขได้ตลอดไป เมื่อยุงตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์แล้วก็จะหาอาหารเลือดซึ่งมีโปรตีนและธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของไข่ โดยทั่วไปถ้ายุงตัวเมียไม่ได้กินเลือด ไข่ก็ไม่เจริญจึงไม่สามารถวางไข่ต่อไปได้ ยุงแต่ละชนิดชอบกินเลือดเหยื่อแตกต่างกันไป ยุงบางชนิดชอบกินเลือดคน เช่น ยุงลาย ยุงบางชนิดชอบกินเลือดสัตว์ เช่น ยุงรำคาญ ยุงบางชนิดชอบกินทั้งเลือดคนและเลือดสัตว์
เมื่อยุงได้กินเลือดเต็มที่แล้ว ก็จะไปหาบริเวณที่เหมาะสม เกาะพักนิ่งๆ เพื่อรอเวลาให้ไข่เจริญเติบโต เช่น ตามที่อับชื้น เย็นสบายลมสงบและแสงสว่างไม่มาก ยุงบางชนิดชอบเกาะพักภายในบ้านตามมุมมืดที่อับชื้น ยุงบางชนิดชอบเกาะพักนอกบ้านตามสุ่มทุมพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้น ในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นแบบบ้านเรา ยุงจะใช้เวลาเพียง 2-3 วัน ไข่ก็สุกเต็มที่พร้อมที่จะวางไข่ได้ ยุงแต่ละชนิดเลือกแหล่งน้ำสำหรับวางไข่ไม่เหมือนกัน บางชนิดชอบน้ำใส นิ่ง เช่น ยุงลาย บางชนิดชอบน้ำโสโครกตามท่อระบายน้ำ เช่น ยุงรำคาญ ยุงบางชนิดชอบวางไข่ตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น ยุงก้นปล่อง ยุงวางไข่ครั้งละประมาณ 100 ฟอง เมื่อยุงวางไข่แล้วก็จะบินไปหากินเลือดอีกสำหรับไข่ในรุ่นต่อไปวนเวียนอยู่เช่นนี้จนกระทั่งยุงแก่ตาย ยุงตัวเมียโดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ 1 เดือน ส่วนยุงตัวผู้มีอายุสั้นกว่ายุงตัวเมีย โดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ 1 สัปดาห์



บทที่ 3
วิธีการดำเนินงานโครงงาน

3.1       วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
- หม้อ
- ขวดน้ำหอมแบบขวดสเปรย์
- น้ำเปล่า
- มีด
- เขียง
- ต้นตะไคร้
  
3.1       ภาพร่างในการพัฒนาชิ้นงาน
3.2       ในกรณีที่เป็นโครงงานของการสร้างวิธีการ จะเป็นการเขียนแผนผังของวิธีการ






 













3.3       ขั้นตอนการสร้างชิ้นงานตามแบบ


                                   
3.4       ทดสอบและปรับปรุงชิ้นงานให้สามารถทำงานได้
3.5       ทดสอบและปรับปรุงชิ้นงานให้สามารถทำงานได้ 

จำนวนครั้งที่ทดลอง
จำนวนต้นตะไคร้ (ต้น)
ผลการทดลอง
1
3
กลิ่นออกน้อยมาก
2
5
กลิ่นออกมาพอสมควร
3
7
กลิ่นที่ออกได้กลิ่นหอมตามต้องการ
               
                สรุปผลการทดลอง จากการที่เราทดลองมาทั้งหมด 3 ครั้ง สรุปได้ว่า การทดลองครั้งที่ 3 เป็นการทดลองที่ได้ผลตามต้องมากที่สุด ซึ่งมากกว่าในครั้งที่ 1 และ 2



















บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

4.1    ผลการดำเนินงาน
ชิ้นงานออกมาสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
4.2    การนำไปใช้ให้ครอบคลุมหน่วยบูรณาการของกลุ่มสาระในระดับ ม.2  เรื่อง “วิถีพอเพียง”
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์         เรื่อง “พลังงานพอเพียง”
แนวทางการบูรณาการ การประยุกต์วัสดุในธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง “คณิตกับชีวิตประจำวัน”
แนวทางการบูรณาการ การคำนวณปริมาณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง  “ภาษาสร้างสรรค์”
แนวทางการบูรณาการ การเรียบเรียงรูปเล่มโครงงาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  เรื่อง  “ธรรมะสร้างงาน”
แนวทางการบูรณาการ ความรับผิดชอบช่วยกันของเพื่อน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง  “อยู่ดีมีสุข”
แนวทางการบูรณาการ ช่วยแก้ไขปัญหาการจมน้ำ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่อง  “ศิลป์สร้างสรรค์”
แนวทางการบูรณาการ การออกแบบ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง  “ทักษะสร้างอาชีพ”
แนวทางการบูรณาการ การประยุกต์สิ่งในธรรมชาติ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่อง  “English Around us”
แนวทางการบูรณาการ ได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ในชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว เรื่อง  “แนะแนวอาชีพ”
แนวทางการบูรณาการ ฝึกทักษะเพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต


   บทที่ 5
สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ
1.1    สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
สรุปได้ว่าการสกัดตะไคร้พบว่าสารสกัดจากตะไคร้นั้นสามารถนำมากำจัดยุงได้ปริมาณเหมาะสมและมีกลิ่นหอม
1.2    ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
 1.ควรจะมีการทดลองหรือประยุกต์การทดลองโดยการนำเอาวัสดุต่างๆ เช่น เทียนไข เป็นวัสดุหลักในการทดลอง ตัวอย่าง เช่น เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง
 2.น่าจะมีการทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อที่จะสามารถนำไปต่อยอดความคิด หรือ นำมาทดลองใช้ในชุมชนได้



ภาคผนวก







                             
  

 







 







                                                                                                                          
    
บรรณานุกรม
ออระสา พวกภูเขียว.(2013X.สเปรย์หอมไล่ยุงจากใบตะไคร้และ มะกรูด.10 ธันวาคม 2560. http://spayhomlaiyungka.blogspot.com/
บงกช บุปผา .(2553).ตะไคร้ ใบตะไคร้ ประโยชน์ และสรรพคุณตะไคร้.10 ธันวาคม 2560. http://puechkaset.com/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89/.